วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ

คู่มือเตรียมสอบ

ผลงานลูกค้า

เปิดสอบ ราชการ งานราชการ หางาน สอบราชการ พนักงานราชการ สอบบรรจุ หางาน รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ
ศูนย์หนังสือสอบ sheetchula เป็นที่รวบรวมแนวข้อสอบรับราชการ ทุกหน่วยงาน และนี่คือผลงาน ความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อข้อสอบจากเราไป บางส่วน




1
2
3
4
5
6
7
8


บริการต่างๅ

บริการต่างๆ

บริการต่างๆ



ติดตาม Facebook

Youtube

แนวข้อสอบสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน




รายละเอียดวิชาที่สอบ #
แนวข้อสอบสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
3 พระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
4 แนวข้อสอบ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
5 แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน

+++ อ่านประกาศเพิ่มเติม และลิ้งค์สมัครที่ http://www.งานราชการไทย.com/
+++ กดติดตามรับข้อสอบที่ : http://line.me/ti/p/%40awr8388d
+++ กดถูกใจเพื่อรับแนวข้อสอบ
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ที่ https://www.facebook.com/518131205042765

แนวข้อสอบ

แนวข้อสอบ

ความรู้ทั่วไป

ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย)

ผู้ตรวจการแผ่นดิน (เดิมเรียกว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา) คือ บุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว[1]

ประวัติ

ตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน มีแนวคิดมาจากประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ มีตำแหน่งที่เรียกว่า "ออมบุดสแมน"(Ombudsman) เพื่อทำหน้าที่ดูแลปัดเป่าเรื่องทุกข์ร้อนของประชาชนแทนพระมหากษัตริย์ และมีการพัฒนามาสู่ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในประเทศไทยเริ่มมีการจัดตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 โดยใช้ชื่อว่า "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา"[2]
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 11 ส่วนที่ 1 มาตรา 242 - 244 ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา 299 วรรคหนึ่ง กำหนดให้มี "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" จำนวน 3 คน และให้ "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2550) ดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้ตรวจการแผ่นดิน"

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน มีดังต่อไปนี้
  • พิจารณาและสอบสวนข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
    • การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
    • การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
    • กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง
สามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ในกรณีที่เห็นว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสามารถยื่นคำร้องต่อศาลปกครองได้ในกรณีที่คำสั่งของบุคคลใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ
    • ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    • ติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น
    • รายงานผลการตรวจสอบที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย

รายนามผู้ตรวจการแผ่นดิน

ปัจจุบัน

ในอดีต

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย ( Office of the Ombudsman Thailand) เป็นสำนักงานเลขานุการของผู้ตรวจการแผ่นดิน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542[2] โดยใช้ชื่อว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ปัจจุบันมีนายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เป็นเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ในการสอบเข้าสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินผู้สมัครไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค  ก ของ ก.พ.  เนื่องจากบุคลากรของ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่ใช่ข้าราชการ แต่เป็นพนักงาน ไม่บังคับว่าต้องผ่านภาค ก. ของ ก.พ. ข้อสอบมี ภาค ก กับภาค ข จัดสอบวันเดียวกัน  ข้อสอบภาค ก จะคล้ายๆ ก.พ. แต่เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตรวจการเข้าไป ส่วนภาค ข. ก็ความรู้เฉพาะตำแหน่ง

การเตรียมตัวสอบ
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม  ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า  โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่  แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ  เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม  
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน  ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม  สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม  พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด  อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน


วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
1.  ความรู้ความสามารถทั่วไป  (ภาค ก ) (100 คะแนน) โดยวิธีการสอบข้อเขียนเกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และความสามารถในการวิเคราะห์ สรุปข้อเท็จจริงและเหตุผล การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง   (ภาค ข)  (200 คะแนน)  โดยวิธีการสอบข้อเขียนเกี่ยวกับความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่
3. วิชาภาษาอังกฤษ
3. ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง   (ภาค ค )  ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถทั่วไป  (ภาค ก ) และความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่ง (ภาค ข)   ผ่านก่อน และเมื่อสอบผ่านทั้งสองภาคแล้วจึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง  (ภาค ค)

รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
3 ความรู้เกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน
6 ความสามารถทางด้านเหตุผล
7 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
8 ความสามารถด้านภาษาไทย
9 แนวข้อสอบความรู้การเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประชาคมอาเซียน

ตำแหน่งที่สอบ
เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (ผลิตสื่อและโสตทัศนูปกรณ์)
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
เจ้าหน้าที่สอบสวน
นักวิชาการ (งานติดตามประเมินผลรัฐธรรมนูญ)
นักวิชาการ (งานบรรณารักษ์และงานพิพิธภัณฑ์)
นักวิชาการ (งานวิจัย)
วิชาการ(งานนโยบายและแผน)
นิติกร
นักวิชาการเงินและบัญชี
นักวิชาการคอมพิวเตอร์